วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Wepmaster


อาจารย์สุดฤทัย ชัยแสงฤทธิ์
อาจารย์ผู้สอนวิชาโครงการ
วิทยาลัยเทคโนโลยีอีสานเหนือ





อาจารย์ชูชีพ สมใจ
อาจารย์ที่ปรึกษาประจำวิชาโครงการ
วิทยาลัยเทคโนโลยีอีสานเหนือ





นางสาวสุภาวดี ไวว่อง
ผู้จัดทำวิชาโครงการ
วิทยาลัยเทคโนโลยีอีสานเหนือ

การบันทึกงาน



     สมมุติว่า เราได้แต่งรูป พระทราย ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราต้องการบันทึกการทำงาน ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้


. ไปที่ File > Save as จะปรากฎหน้าต่างดังรูปด้านล่าง
·                     ช่อง File name คือให้เราตั้งชื่องาน
·                     ช่อง Format คือ การบันทึกไฟล์งานประเภทต่างๆ เช่น PSD , JPEG , TIFF และอื่นๆ 
·                     เมื่อเลือกเสร็จเรียบร้อยแล้ว กด Save ก็จะทำการบันทึกสำเร็จ




แม้ว่าคุณจะไม่เคยใช้ Adob​​e Photoshop ก่อนฉันลำยองแน่ใจว่าคุณเคยได้ยินเกี่ยวกับมัน ซอฟแวร์เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของมันกลายเป็นคำกริยา: ไปที่ “Photoshop” ภาพหมายถึงการแก้ไขในทางที่เป็นจริงโค้ง
เมื่อคุณได้รับในมือของคุณ Photoshop คุณจะกลายเป็นเจ้าของเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพการแก้ไขภาพน่าขนลุก และนี่คือเหตุผลที่เรากำลังเขียนคำแนะนำเหล่านี้ ที่จะช่วยให้ประสบการณ์ Photoshop ของคุณง่ายขึ้นและสะดวกสบาย เราได้ครอบคลุมแล้วจำนวนมากเครื่องมือเคล็ดลับและเทคนิคของ Photoshop CS5 ในคำแนะนำของเราก่อนหน้า (ส่วนที่ I, II, III และ IV) ดังนั้นฉันคิดว่าคนจะมีเพียงพอของคู่มือการใช้งาน Photoshop โดยขณะนี้ แต่แล้ว Photoshop CS6 ออกมา
เมื่อเทียบกับการปรับปรุงก่อนหน้านี้ CS6 มีขนาดใหญ่มาก ผมก็จะบอกว่าการปฏิวัติ การปรับปรุงนี้นำมาปรับปรุงหลายอย่างเพื่อเชื่อมต่อและประสิทธิภาพการทำงาน นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือ มายากลซึ่งเพิ่มเวิร์กโฟลว์ทั้งหมดจำนวนมากทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้นมาก ดังนั้นก็คือตอนนี้เห็นได้ชัดว่าคนเหล่านี้ที่ Adobe จริงๆตรวจสอบข้อเสนอแนะของผู้ใช้และความปรารถนา มือลง
ในคู่มือนี้ผมจะแนะนำคุณกับคุณสมบัติใหม่ของ Photoshop CS6 และแสดงให้คุณสิ่งที่พวกเขาและวิธีการที่จะใช้พวกเขา

การเปิดพื้นที่การใช้งาน



         . ไปที่ Application menu เลือก File > New จะปรากฎหน้าต่างดังรูปด่านล่าง



       . จากรูปมีการกำหนดค่าต่างๆมากมาย 
·                     ช่อง Name คือการกำหนดชื่อของชิ้นงาน
·                     ช่อง Preset คือ ชนิดของงานต่างๆ ที่กำหนดไว้ให้แล้ว มีให้เลือกมากมาย เช่น Web , Photo ,U.S.paper , international paper
·                     ช่อง size จะสัมพันธ์กับช่อง Preset คือ ขนาดของงานแต่ละชนิด เช่น ค่า Preset เป็น International paper ช่อง Size ก็จะมีตัวเลือก คือ A4 , A3 , A2 ,A1 และอื่นๆ
·                     ช่อง width คือขนาดความกว้างของชิ้นงาน หากต้องการกำหนดเอง มีหน่วนให้เลือก 7 ชนิด
·                     ช่อง Hight คือขนาดความสูงของชิ้นงาน 
·                     ช่อง Resolution คือ ความละเอียดของงาน มีหน่วยเป็น Pixelต่อนิ้ว และ Pixel ต่อเซนติเมตร
·                     ช่อง Color mode คือชนิดของพื้นที่สีในการทำงาน มีให้เลือกหลากหลาย เช่น RGB , CMYK และมีค่าความละเอียดให้เลือกเป็น bit
·                     ช่อง Background Contents คือเลือกชนิดของ พื้นหลังงาน มี 3 แบบ คือ แบบขาว แบบสี และแบบโปร่งใส
          เมื่อทำการกำหนดขนาดของงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คลิปปุ่ม OK เพื่อทำการเปิดพื้นที่การทำงานดังตัวอย่างภาพ เปิดพื้นที่งานขนาด A4 พื้นหลัง สีขาว


      
     การนำภาพเข้าใช้งาน
      หากเรามีภาพที่ต้องการเปิดเข้าใช้งานในโปรแกรม ในทำการ ตามขั้นตอนต่อไปนี้
       ไปที่ File > open เลือก Floder ที่มีรูปที่เราต้องการ เลือกรูปนั้นแล้วกด Open

     จะได้รูปมาปรากฎอยู่ที่ Stage หรือพื้นที่การทำงานดังรูป ตามตัวอย่างด้านล่าง ใช้รูปดอกบัว



ความหมายและความสำคัญของ Layer



        เลเยอร์ Layer ชิ้นงานย่อย หรือเรียกให้เข้าใจง่ายคือ ชั้นของชิ้นงานใหญ่ เป็นหลักการทำงานของโปรแกรม Photoshop นั่นคือการนำชั้นต่างๆ มาผสมกันเพื่อปรับแต่งให้เกิดความสวยงามมากขึ้น

Layer
สามารถทำอะไรกับเลเยอร์

แสดงหรือซ่อน (Show or Hide Layer) การคลิกที่รูปดวงตาแต่ละครั้ง จะเป็นการเปิดเพื่อแสดง หรือปิดเพื่อซ่อนสีิงที่อยู่ในเลเยอร์ เช่น ถ้าเราไม่ต้องการให้แสดงภาพของเลเยอร์ใด ก็ทำการปิด หรือซ่อนไป
คัดลอก และ ทำซ้ำเลเยอร์ (Copy and Duplicate Layer) แบ่งเป็น
การคัดลอเเลเยอร์จากชิ้นงานหนึ่งไปยังอีกชิ้นงานหนึ่ง ทำได้หลายวิธี
·                     คลิกเลเยอร์ที่ต้องการทำการคัดลอก ใช้โปรแกรมเมนู Edit เลือก Copy หรือกดปุ่ม Ctrl C คลิก Tab ของชิ้นงานที่เราต้องการจะให้เลเยอร์นั้นมาวางไว้แล้วคลิก Edit เลือก Paste หรือกดปุ่ม Ctrl V  
·                      คลิกเลเยอร์ที่ต้องการทำการคัดลอก คลิกขวาที่เม้าส์ เลือก Duplicate Layer จะได้หน้าต่างตามภาพด้านล่าง ใส่ชื่อในช่อง Destination ให้เป็นชื่อชิ้นงานที่เราต้องการนำเลเยอร์นี้ไปไว้
·                     คลิกเลเยอร์ที่ต้องการทำการคัดลอกค้างไว้ แล้วลากไปยังอีก Tab ของอีกชิ้นหนึ่งโดยตรง 

การคัดลอกเลเยอร์ในชิ้นงานเดียวกัน
·                      คลิกที่เลเยอร์ ใช้โปรแกรมเมนู Layer เลือก Duplicate Layer จะมีหน้าต่างเหมือนภาพที่ด้านบนเช่นกัน แต่ช่อง Destination ไม่ต้องกำหนดชื่อชิ้นงานอื่น
·                      คลิกที่เลเยอร์ ใช้โปรแกรมเมนู Layer เลือก New เลือก Layer via Copy (คีย์ลัด Ctrl + J)
·                     คลิกที่เลเยอร์นั้น และกดคีย์ Alt พร้อมกับลากเลเยอร์ไปยังตำแหน่งใน Panel ที่ต้องการวาง ปล่อยเม้าส์
ย้ายตำแหน่งเลเยอร์ (Move Layer)

ขั้นตอนการทำคล้ายกับการคัดลอก เพียงเปลี่ยนคำสั่งจาก Edit - Copy เป็น Edit Cut หรือ Ctrl X ในกรณีที่ย้ายคนละชิ้นงาน แต่ถ้าชิ้นงานเดียวกันเพียงคลิกที่เลเยอร์ และทำการเลื่อนไปยังตำแหน่งบน Panel ที่ต้องการเท่านัน

เพิ่มเลเยอร์ (Add Layer)
เพียงแค่คลิกไอคอน Create a new Layer ซึ่งอยู่ด้านล่างของ Layer Panel ติดกับรูปถัง ก็จะได้เลเยอร์เพิ่มแล้ว หรือถ้าต้องการใช้คำสั่งจากเมนูโปรแกรม เลือก Layer เลือก New เลือก Layer ตั้งชื่อ และ Enter ก็ได้เหมือนกัน  

 ลบเลเยอร์ (Delete Layer)
วิธีลบเลเยอร์ทำโดย คลิกที่เลเยอร์ที่ต้องการลบ กดปุ่ม Backspace หรือใช้โปรแกรมเมนู Layer เลือก Delete เลือก Layer หรือโดยการคลิกที่เลเยอร์แล้วลากมาที่รูปถัง

การล็อค และ ปลดล็อค เลเยอร์ (Lock and Unlock Layer)
การล็อคเลเยอร์ ทำได้โดย คลิกที่เลเยอร์ที่ต้องการล็อค แล้วคลิกที่รูปกุญแจ ส่วนการปลดล็อคก็เพียงทำซ้ำขั้นตอนเดียวกัน

การปลดล็อคเลเยอร์  Background วิธีปลดล็อคทำได้โดย ดับเบิ้ลคลิกที่เลเยอร์ จะมีหน้าต่างดังภาพขึ้นมา จะตั้งชื่อเลเยอร์ใหม่หรือไม่ก็ได้ เลเยอร์นั้นก็จะปลดล็อคเป็นเลเยอร์ธรรมดา


ตั้งชื่อเลเยอร์ (Name Layer)
วิธีตั้งชื่อให้กับเลเยอร์ ทำโดยดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อบนเลเยอร์นั้น และพิมพ์ชื่อ เสร็จแล้ว Enter สำหรับ Photoshop CS6 เมื่อพิมพ์ชื่อเลเยอร์หนึ่งเสร็จแล้ว สามารถกด Tab เพื่อเลื่อนไปยังเลเยอร์อื่นเพื่อทำการพิมพ์ชื่อได้เลย ไม่ต้องมาทำซ้ำขั้นตอนเดิม ทำให้ประหยัดเวลาได้มาก

คลิปปิ้งเลเยอร์ (Clipping Layer)
หมายถึงการทำให้เลเยอร์หนึ่งมีผลกับอีกเลเยอร์หนึ่งเท่านั้น ไม่ไปกระทบเลเยอร์อื่นซึ่งอยู่ถัดลงไป อ่านแล้วคงจะ งง ลองดูภาพด้านล่างนะครับ จากภาพจะเห็นเลเยอร์ Wood Gain ซึ่งเป็นลายไม้ ผมต้องการให้ลายไม้นี้มีผลกับกรอบภาพซึ่งเป็นเลเยอร์ Frame ที่อยู่ถัดลงไปด้านล่างเท่านั้น ผมจึงใช้การ Clipping ซึ่งจะเห็นลูกศรอยู่ที่ด้านหน้านของเลเยอร์ Wood Gain การทำเช่นนี้ จะทำให้ได้กรอบภาพที่มีลายไม้สวยงามขึ้นมาแทนกรอบสีแดงเหลือง ในเลเยอร์ Frame

การทำ Clipping โดยการใช้คีย์ลัด ให้กดปุ่ม Alt แล้ววางเม้าส์ไว้ระหว่างทั้งสองเลเยอร์ จากนั้นคลิก หรือถ้าจะใช้คำสั่งโปรแกรมเมนู Layer เลือก Create Clipping Mask (คีย์ลัด Alt + Ctrl + G) ถ้าต้องการยกเลิกก็เพียงแค่ทำซ้ำวิธีเดิม โปรแกรมเมนู Layer เลือก Release Clipping Mask หรือ กดปุ่ม Alt แล้วคลิกเม้าส์ที่เดิมอีกครั้ง